Pages

STUDENT LIST 102

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562

8th learning record


Date: 4 October 2019

    วันนี้อ.จ๋าได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนโครงการการทดลองของกลุ่มตัวเอง ที่จะต้องนำไปสอนน้องๆที่มูลนิธิเด็กอ่อนเสือใหญ่ในสลัม หลังจากนั้นอ.ก็รีบไปทำธุระสำคัญค่ะ ทำให้เราต้องทำงานกันในห้องเรียนต่อ





Vocabulary

Foundation          มูลนิธิ
Engagement          ธุระ
After that          หลังจากนั้น
Important          สำคัญ
Project          โครงการ



7th learning record


Date: 20 September 2019

    วันนี้เป็นคราวของหนูที่จะต้องทำการทดลองให้เพื่อนๆดูบ้างแล้วค่ะ สนุกสนานกันมากๆเลยทั้งเพื่อนกลุ่มอื่นและกลุ่มของหนูเอง อ.จ๋าได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องการปรับคำพูดให้เด็กปฐมวัยเข้าใจง่าย




    เหมือนเดิมค่ะ การเรียนทุกครั้งไม่มีกิจกรรมก่อนจะจบคาบจะเป็นการเรียนกับอ.จ๋าได้ยังไง มาที่กิจกรรม หยอดเหรียญให้น้ำล้น กลุ่มไหนหยอดเหรียญจนน้ำล้นก่อน กลุ่มนั้นชนะค่ะ






Vocabulary

Plastic          พลาสติก
Adjust          ปรับ
Understand          เข้าใจ
Overflow        น้ำล้น
Battle          ขวด



6th learning record

 Date: 13 September 2019

    วันนี้เพื่อนๆทำการทดลองของแต่ละกลุ่มค่ะ การดำเนินการเป็นไปอย่างสนุกนานปนกับการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์



    จบการทดลองวิทยาศาสตร์ไปแล้ว ต่อไปเป็นกิจกรรมที่อ.จ๋าได้เตรียมมาให้นักศึกษาได้สนุกสนาน และแสดงความร่วมมือกันในทีม



   และอีกหนึ่งกิจกรรมคือให้แต่ละกลุ่มวาดแหล่งน้ำ โดยห้ามให้กลุ่มอื่นๆรู้เป็นอันขาด






Vocabulary

Know          รู้
Brigde          สะพาน
Draw          วาด
Activity          กิจกรรม
People          ผู้คน


วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

5th learning record


Date: 6 September 2019

    วันนี้อ.จ๋าได้ให้นักศึกษาเข้าไปหาเขาทีละคน แล้วพิมพ์การทดลองที่ตัวเองได้ลงไปใน Microsoft Word จากนั้นก็ส่งให้เพื่อนคนที่รวบรวมค่ะ และนี่คือการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่หนูได้ค่ะ





Vocabulary

Gather          รวบรวม
Everyday life          ชีวิตประจำวัน
Phenomenon          ปรากฏการณ์
Property          สมบัติ
Concept          แนวคิด



วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

National Science and Technology fair 2019


Date: 21 August 2019

    วันนี้ได้มาเยี่ยมชมนิทรรศการตามที่อ.จ๋าได้แนะนำมาค่ะ นั่นก็คือ... งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์การค้าเมืองทองธานี ฮอลล์ 6-12 ซึ่งภายในงานมีสิ่งที่น่าสนใจเยอะแยะไปหมดเลยค่ะ หนูได้ไปเจอมุมที่ดีและน่าสนใจหลายมุมเลยค่ะ เช่น

🍁 รูปปิระมิดหัวกลับ


    แสดงให้เห็นว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนพิรามิต มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอด และมีราษฎรอยู่เบื้องล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ทุกอย่างดูเหมือนจะตรงกันข้าม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องปวดคอและบริเวณไหล่อยู่เสมอค่ะ

🍁 นิทรรศการ พินิจ พิพิธ-พันธุ์

    
     เป็นการท่องโลกพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาจำลอง ที่ถอดแบบสถาปัตยกรรมสุดอลังการจาก "พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน" ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งของไทยและของโลก ผ่านการจัดแสดงในรูปแบบของตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ที่ถูกเก็บในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

🍁 ข้าวคือชีวิต


    "ข้าว (Rice)" อาหารหลักใกล้ตัวที่สุดของคนไทย แถบเอเชีย และในอีกหลายเขตภูมิภาคของโลก ทำความรู้จักกับคุณประโยชน์ของข้าวที่ทานกันเป็นประจำและชนิดของข้าวที่อาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อน เรียนรู้ความสำคัญของข้าวในหลากหลายมิติ

🍁 ภารกิจพิชิตดวงจันทร์


    เฉลิมฉลอง 50 ปีของภารกิจเพื่อพิชิตดวงจันทร์ มีเวลาฉายดูการสำรวจดวงจันทร์ลองสวมถุงมือ นักบินอวกาศเห็นว่ามันยากแค่ไหนในการเข้าสู่อวกาศ ต้องเล่นพวงมาลัยโมเมนตัมหรือแม้แต่มูนวอล์กที่ช่วยให้เราเดินเหมือนเดินบนดวงจันทร์ แต่ ณ จุดนี้เด็กจะต้องสูง 120 ซม. ขึ้นไป






4th learning record


    วันนี้อ.จ๋าได้ทักเข้ามาในกลุ่มไลน์ค่ะ ว่าให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ห้องสมุดของทางมหาวิทยาลัย การทดลองที่หนูได้เลือกมา นั่นก็คือ...

การทดลอง หัวลูกศรเปลี่ยนทิศด้วยน้ำ



อุปกรณ์
🍁 แก้วน้ำ
🍁 น้ำเปล่า
🍁 ขวดน้ำพร้อมน้ำในขวด
🍁 กระดาษที่มีรูปลูกศร

วิธีการทดลอง
🍁 วางแก้วไว้ข้างหน้ากระดาษที่มีรูปลูกศร พร้อมให้เด็กๆสังเกตก่อน
🍁 เทน้ำเปล่าลงไปในแก้วน้ำทีละนิดๆ จนเต็มแก้ว
🍁 ให้เด็กๆลองสังเกตรูปลูกศรว่ามีทิศทางเดิมหรือไม่
🍁 เลื่อนแก้วน้ำออกจากรูปลูกศร

สรุปผลการทดลอง 
    แก้วน้ำที่ว่างเปล่าวางไว้อยู่หน้าแก้วลูกศรยังคงยังไปทางเดิม เติมน้ำเข้าไปแล้วลูกศรเปลี่ยนด้าน เป็นเพราะ เกิดการหักเหของแสงที่มากระทบกับน้ำในแก้วนั่นเอง


Vocabulary

Arrow          ลูกศร
Direction          ทิศ
Empty         ว่างเปล่า
observe          สังเกต
Sliding          การเลื่อน


3rd learning record

Date: 16 August 2019




    วันนี้อ.จ๋าให้เรามาเรียนรวมกันแบบ 2 กลุ่มเรียนค่ะ ให้แต่ละกลุ่มแบ่งปันความรู้ในหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้มาในคาบเรียนที่แล้ว กลุ่มของหนูได้หัวข้อ "เสียง" ซึ่งกลุ่มของหนูได้ทำการค้นหา และมีข้อมูล ดังนี้

ที่มาและแหล่งกำเนิด 
    เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง
เสียงเป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น
    เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล

คุณสมบัติของเสียง
    เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น คือ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน

 ประโยชน์ของเสียง
🍁ช่วยในการติดต่อสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ การพูดคุยกัน
🍁ช่วยทำให้เกิดความบันเทิง เช่น เสียงดนตรี เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
🍁ประดิษฐ์เครื่องมือ เช่น เครื่องฟังการเต้นของหัวใจ

ข้อจำกัดหรือโทษ
    🐙การสูญเสียการได้ยิน มี 2 ลักษณะ คือ
🍁การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เนื่องจากรับฟังเสียงดังมากๆ ในระยะเวลา ไม่นานนัก ทำให้หูอื้อ ถ้าหยุดพักการได้ยินก็จะคืนสู่สภาพปกติได้
🍁การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร เกิดจากการที่ต้องรับฟังเสียงดังเป็นระยะ เวลานาน ทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย รับฟังเสียงไม่ได้ เกิดหูตึง หูพิการ
   🐙ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
  1. เกิดความรำคาญ หงุดหงิด เกิดความเครียด และเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ง่าย
  2. รบกวนการนอนหลับ
  3. ทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
  4. ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  5. เป็นอุปสรรคในการทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้


Vocabulary

Sound          เสียง
Communication          การสื่อสาร
Wave          คลื่น
Project          โครงการ
Accident          อุบัติเหตุ



Article




สรุปบทความวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ

โดย ดร.นิติธร ปิลวาสน์ 



สรุป

    การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ

🍁ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
🍁ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
🍁การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
🍁การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
🍁ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้





2nd learning record


Date: 14 August 2019


    วันนี้ค่ะ อ.จ๋าได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้ถ่ายรูปลงในเว๊บไซต์ https://padlet.com/
แล้วให้ตอบคำถามพร้อมโพสในกลุ่มของตัวเอง ในคำถามที่ว่า "การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยน่าจะเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง"



    จากนั้นท้ายของคาบเรียน อ.จ๋าได้ให้ความรู้เล็กน้อยนอกจากการทำกิจกรรม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
    เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสมอง มีตัวอย่างดังนี้ 
🐙 เด็กเคยเห็นหรือเล่นแต่กับตุ๊กตาสุนัข ที่สามารถเดินได้ มีเสียงเห่า เด็กได้กอดได้สัมผัสโดยที่สุนัขไม่กัดเพราะ นั่นคือตุ๊กตา แต่พอเด็กไปพบสุนัขตัวเป็นๆ มีชีวิตจริงๆ จึงเข้าไปเล่นด้วยเหมือนที่เล่นกับตุ๊กตา สุนัขตัวนั่นกลับเห่าและมีทีท่าจะกัด สมองของเด็กคนนั้นจะปรับโครงสร้างแล้วเกิดเป็น "ความรู้ใหม่" ซึ่งเป็นการรับรู้ของสมอง หากเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่เข้าหาสุนัขอีก แสดงว่าเด็กคนนั้น "เกิดการเรียนรู้" เป็นการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ 🐙
    ดังที่ เพียเจต์ ได้กล่าวไว้ โดยแบ่งขั้นการพัฒนาการออกตามช่วงวัย 4 ขั้น ได้แก่

🍁 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori - Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
🍁 ขั้นก่อนปฎิบัติการ (Preoperational Stage) 2 - 7 ปี เน้นการใช้ภาษาและเหตุผลเล็กน้อย
🍁 ขั้นปฎิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) 7 - 11 ปี สามารถสร้างกฎเกณฑ์ ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ และสามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาได้ เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์ 
🍁 ขั้นปฎิบัติการด้านนามธรรม (Formal Poeration Stage) 11 - 15 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดพัฒนาไปถึงขั้นสุดยอด

พัฒนาการ
    หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง ดังนั้น เราจะต้องจัดประสบการ์ให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก "ถ้าอะไรที่มันง่ายเกินไปเด็กก็จะเบื่อ ถ้าอะไรมันยากเกินไปเด็กก็จะท้อและไม่อยากทำ"


Vocabulary

Preoperational          ก่อนปฎิบัติการ
Stage          ขั้น
Sensoria          ประสาทรับรู้
Think          ความคิด
Problem          ปัญหา