Date: 14 August 2019
วันนี้ค่ะ อ.จ๋าได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้ถ่ายรูปลงในเว๊บไซต์ https://padlet.com/
แล้วให้ตอบคำถามพร้อมโพสในกลุ่มของตัวเอง ในคำถามที่ว่า "การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยน่าจะเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง"
จากนั้นท้ายของคาบเรียน อ.จ๋าได้ให้ความรู้เล็กน้อยนอกจากการทำกิจกรรม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสมอง มีตัวอย่างดังนี้
🐙 เด็กเคยเห็นหรือเล่นแต่กับตุ๊กตาสุนัข
ที่สามารถเดินได้ มีเสียงเห่า เด็กได้กอดได้สัมผัสโดยที่สุนัขไม่กัดเพราะ
นั่นคือตุ๊กตา แต่พอเด็กไปพบสุนัขตัวเป็นๆ มีชีวิตจริงๆ
จึงเข้าไปเล่นด้วยเหมือนที่เล่นกับตุ๊กตา สุนัขตัวนั่นกลับเห่าและมีทีท่าจะกัด
สมองของเด็กคนนั้นจะปรับโครงสร้างแล้วเกิดเป็น "ความรู้ใหม่"
ซึ่งเป็นการรับรู้ของสมอง หากเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่เข้าหาสุนัขอีก
แสดงว่าเด็กคนนั้น "เกิดการเรียนรู้" เป็นการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
🐙
ดังที่
เพียเจต์ ได้กล่าวไว้ โดยแบ่งขั้นการพัฒนาการออกตามช่วงวัย 4
ขั้น ได้แก่
🍁 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
(Sensori - Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
🍁 ขั้นก่อนปฎิบัติการ
(Preoperational Stage) 2 - 7 ปี เน้นการใช้ภาษาและเหตุผลเล็กน้อย
🍁 ขั้นปฎิบัติการคิดด้านรูปธรรม
(Concrete Operation Stage) 7 - 11 ปี สามารถสร้างกฎเกณฑ์
ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
และสามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาได้ เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์
🍁 ขั้นปฎิบัติการด้านนามธรรม
(Formal Poeration Stage) 11 - 15 ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดพัฒนาไปถึงขั้นสุดยอด
พัฒนาการ
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง ดังนั้น
เราจะต้องจัดประสบการ์ให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก
"ถ้าอะไรที่มันง่ายเกินไปเด็กก็จะเบื่อ
ถ้าอะไรมันยากเกินไปเด็กก็จะท้อและไม่อยากทำ"
Vocabulary
Preoperational
ก่อนปฎิบัติการ
Stage
ขั้น
Sensoria
ประสาทรับรู้
Think
ความคิด
Problem
ปัญหา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น